เมื่อวันที่ 30  พฤศจิกายน พ.ศ. 2563  ผอ.สมใจ วิเศษทักษิณ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1เป็นประธานการการประชุมผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัด สพม.1 ครั้งที่ 3 /2563 เพื่อมอบนโยบายในการทำงาน แจ้งข้อราชการเร่งด่วน เรื่องการแจ้งเพื่อทราบ เรื่องแนวทางพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมพลังขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การพัฒนา อย่างยั่งยืน โดยน้อมนำศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาขยายผลการปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา ขอให้น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน 1.มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ข้อนี้มีคำขยายว่า ต้องมีความรู้ความเข้าใจที่มีต่อชาติบ้านเมือง ยึดมั่นในศาสนา มั่นคงในสถาบันพระมหากษัตริย์ และมีความเอื้ออาทรต่อครอบครัวและชุมชนของตน 2.มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม ข้อนี้มีคำขยายว่า ให้รู้จักแยกแยะสิ่งที่ผิด-ที่ถูก สิ่งชั่ว-สิ่งดี เพื่อปฏิบัติแต่สิ่งที่ชอบที่ดีงาม ปฏิเสธสิ่งที่ผิดที่ชั่ว เพื่อสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง 3.มีงานทำ มีอาชีพ ข้อนี้มีคำขยายว่า ต้องให้เด็กรักงาน สู้งาน ทำงานจนสำเร็จ อบรมให้เรียนรู้การทำงาน ให้สามารถเลี้ยงตัวและเลี้ยงครอบครัวได้ 4.เป็นพลเมืองดี ข้อนี้มีคำขยายว่า การเป็นพลเมืองดีเป็นหน้าที่ของทุกคน สถานศึกษาและสถานประกอบการต้องส่งเสริมให้ทุกคนมีโอกาสทำหน้าที่พลเมืองดี การเป็นพลเมืองดีหมายถึงการมีน้ำใจ มีความเอื้ออาทร ต้องทำงานอาสาสมัคร งานบำเพ็ญประโยชน์ “เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้านเมืองได้ก็ต้องทำ”พร้อมทั้งนโยบาย สพฐ.วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ของ ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ผู้อำนวยการโรงเรียนในสังกัด สพม.1 คณะผู้บริหาร ผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม อย่างพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องประชุมชมพู​นุท​ โรงเรียนวัดราชบพิธ

          “ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช้การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้” พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี 11 ธันวาคม 2512

         พระราชปณิธานตามรอย ในหลวงรัชกาลที่ 9 ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10 มุ่งสร้างโอกาสทาง การศึกษาให้เยาวชนยากไร้ โดยเมื่อปี 2552 ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนิน โครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ด้วยพระราชปณิธานที่มุ่งสร้างความรู้ สร้างโอกาสแก่เยาวชนไทยที่มีฐานะยากจนยากลำบาก แต่ประพฤติดี มีความสามารถในการศึกษา ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มั่นคงต่อเนื่องในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนสำเร็จการศึกษาใน ระดับปริญญาตรีตามความสามารถของแต่ละคน เป็นการลงทุนเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและศักยภาพแก่เยาวชนไทย ต่อมาในปี 2553 ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งมูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (ม.ท.ศ.) ขึ้น ทรงให้นำโครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มาอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ มูลนิธิฯ ด้วยพระราชปณิธานที่มุ่งสร้างโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืนสืบต่อไป พระบรมราโชบาย ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10 ด้านการศึกษา การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ ผู้เรียน 1. ทัศนคติที่ถูกต้อง 2. พื้นฐานชีวิต (= อุปนิสัย) ที่มั่นคงเข้มแข็ง 3. มีอาชีพ – มีงานทำ พระราชกระแส ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10 ด้านการศึกษา ในภาพรวม 1. สืบสานพระราชปณิธานหรือพระราชกระแสรับสั่งรัชกาลที่ 9 เรื่อง การสร้างคนดี การสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง ต้องหาแนวทางสร้างคนดีก่อน แล้วจึงจะไปสู่เด็กเป็นคนดีและพัฒนาให้เป็นคนเก่ง ครูต้องมีศรัทธาที่แรงกล้าเพื่อทำให้เด็กเป็นคนดีคือ สิ่งที่สอนและอบรมผู้เรียนให้มีองค์ความรู้มีอุปนิสัยติดตัว (Character Education) 5 ด้าน คือ ศีลธรรม จริยธรรม มารยาท วินัย และวัฒนธรรม เพื่อให้คนไทยเป็นผู้มีมารยาท มีวินัย มีความ รับผิดชอบในหน้าที่ และเป็นพลเมืองดีของชาติโดยการศึกษา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การสอน และการอบรม ซึ่งเปรียบเสมือน ต้นไม้ที่มีส่วน ของลำต้นและราก 2. การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่เด็ก ทัศนคติที่ถูกต้อง (อุปนิสัย) ที่มั่นคงเข้มแข็ง มีอาชีพ – มีงานทำ ฯลฯ การแนะแนวอาชีพต้องเข้มข้น โรงเรียนควรมีการแนะแนว ทั้งการแนะแนวชีวิต (วินัย และมารยาทไทย) และแนะแนวอาชีพ อย่างเป็นระบบ 3. เน้นการสร้างทัศนคติ (Attitude) ต้องสอนให้เด็กรู้ถูก รู้ผิด ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง (และพบว่าความคาดหวังในเด็ก ของประเทศไทย คือ ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีน้ำใจ การอบรมจนเกิดเป็นนิสัยประจำชาติ) การสร้างเด็กเพื่อเป็นคนในอนาคตของ ชาติที่มีการศึกษา 4. การศึกษาในภาพรวมทำอย่างไรให้เยาวชนมีความสนใจและเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องของสถาบัน ความเป็นชาติและประวัติศาสตร์

ดาวน์โหลดภาพข่าว/กิจกรรม สพม.1 ที่ :::  https://photos.app.goo.gl/dJ6tnCmFETxzifVn8

ติดตาม facebook เครือข่าย ปชส.สพม.1 ที่ ::: https://www.facebook.com/groups/prsesao1/permalink/3352176934893455/

email ผู้ดูแลเว็บไซต์ : [email protected]